News & Promotions

What is shaft alignment?
What is shaft alignment?

 

เชื่อหรือไม่ว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรในโรงงาน เกิดขึ้นมาจากปัญหาของการเยื้องศูนย์ของเพลาที่เกิดจากการปรับตั้ง Alignment ไม่ถูกต้อง หรือเกินค่าพิกัดตามมาตรฐาน ทำให้เครื่องจักรมีการหยุดทำงานอย่างกะทันหัน ส่งผลให้ชิ้นส่วนและอะไหล่ต่างๆ รวมไปถึงตัวเครื่องจักรเกิดความเสียหาย อย่างเช่น แบริ่งเสียเร็วกว่ากำหนด ซีลชำรุด ทำให้เกิดน้ำมันรั่ว หน้าแปลนแตกบ่อย เครื่องจักรสั่น มีเสียงดัง ฯลฯ จนทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าลดลงหรือหยุดชะงักลง ส่งผลให้สินค้าที่ผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ

เพื่อลดปัญหาเหล่านี้ ที่ PAT (P&A Technology) เราเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์ (Laser Shaft Alignment) โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย สามารถตั้งศูนย์เพลาได้อย่างแม่นยำพร้อมกับใช้เวลาที่สั้นที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรเพลาหมุนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการผลิตให้ได้ตามเป้าหมายที่วางแผนเอาไว้

การตั้งศูนย์เพลาเครื่องจักรคืออะไร?

การตั้งศูนย์เพลาเป็นวิธีการลดความเสียหายของเครื่องจักรที่เกิดปัญหาจากการเยื้องศูนย์ของเพลาจนทำให้เครื่องจักรแบบหมุนทำงานหนักที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องจักรมีความเสียหายก่อนเวลาอันควร

โดยการตั้งศูนย์เพลาหากถ้าว่ากันตามทฤษฎีแล้ว คือ การทำให้ศูนย์การหมุนของเพลาฝังขับและเพลาฝั่งถูกขับ อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน จากนั้นเริ่มตั้งศูนย์ในขณะที่เครื่องจักรหยุดนิ่ง เพื่อให้ได้ค่าการเยื้องศูนย์ที่ยอมรับได้ของเครื่องจักร สำหรับวิธีการตั้งศูนย์เพลาเครื่องจักรมีด้วยกันหลากหลายตั้งแต่ใช้ไม้บรรทัด และฟิลเลอร์เกจด้วยวิธีแมนนวล ซึ่งมีความแม่นยำน้อยและต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ตั้งศูนย์เพลา หรือจะเป็นการใช้เครื่องมืออย่างไดอัลเกจ (Dial Gauge) ที่มีความละเอียดมากขึ้น แต่ก็อาจเกิดปัญหา Bar Sag ที่ทำให้อ่านผลได้ไม่ตรงในบางครั้ง แต่ในปัจจุบันการตั้งศูนย์เพลาด้วยเครื่องตั้งศูนย์เลเซอร์เป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยม ด้วยความแม่นยำสูง แถมยังใช้งานง่าย และมีความรวดเร็วในการทำงานช่วยทำให้ลดเวลาของการซ่อมบำรุงได้ดีกว่าการตั้งศูนย์เพลาด้วยวิธีแมนนวล (Manual) หรือไดอัลเกจ (Dial Gauge)

ทำไมต้องลงทุนซื้อเครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์?

ลองนึกภาพตามดูว่าหากโรงงานยังใช้ไม้บรรทัดกับเครื่องวัดหน้าปัดเพื่อให้เครื่องจักรที่มีเพลาหมุนตั้งศูนย์ได้ตรง อาจทำให้โรงงานสูญเสียรายได้ต่อปีมูลค่ามหาศาลไปกับอะไหล่ที่ต้องซ่อมบำรุง หรืออาจต้องเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ ทำให้การทำงานไม่เป็นไปตามแผนดำเนินงานตามกำหนดการ เสียทั้งเวลาและคุณภาพของสินค้า

ดังนั้นการใช้เครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์จะช่วยให้การตั้งศูนย์เพลาเครื่องจักรเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น มีความแม่นยำสูง การันตีคุณภาพที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงในโรงงานทันที  เพราะการใช้เครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์สามารถทำงานได้แบบไร้สาย (Wireless) ร่วมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ อย่าง Tablet หรือ iPad ด้วยน้ำหนักเครื่องที่เบาแถมยังมีจอแสดงผลที่ใหญ่ทำให้อ่านผลลัพธ์ได้ง่าย เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายของการทำงานให้กับวิศวกรโรงงาน และมั่นใจได้ว่าสามารถคำนวณค่าที่ถูกต้องได้อย่างเที่ยงตรง 

 

Which vibration meter or analyzer to choose?
Which vibration meter or analyzer to choose?

 

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม “เครื่องจักร” คือ หนึ่งในหัวใจหลักของการดำเนินงานการผลิตต่างๆ แน่นอนว่าเมื่อมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรเหล่านี้มักเสื่อมสภาพและต้องถูกซ่อมบำรุงเป็นธรรมดา แต่บางครั้งอาการที่บ่งบอกถึงภาวะของเครื่องจักรก็ไม่ชัดเจนมากนัก อย่างการสั่นสะเทือน ที่มักถูกมองข้ามไปได้ง่ายๆ ด้วยเหตุนี้อุปกรณ์อย่างเครื่องวัดความสั่นสะเทือน จึงเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ทุกโรงงานควรมีเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ก่อนซื้อเครื่องวัดความสั่นสะเทือน ควรที่จะศึกษาและเลือกให้ดีเสียก่อน เพื่อประสิทธิภาพในการวัดค่าที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ

 

ทำไมต้องวัดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร?

โดยทั่วไป การเดินเครื่องจักรขนาดใหญ่ในโรงงานผลิตก็มักจะเกิดการสั่นสะเทือนจากการทำงานเป็นเรื่องปกติ  อย่างไรก็ตาม เมื่อความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรเกิดเปลี่ยนแปลงหรือสั่นสะเทือนผิดรุนแรงปกติ นั่นอาจหมายความว่าเครื่องจักรกำลังมีปัญหา อย่างเช่น เฟืองชำรุด ชิ้นส่วนหลุดหลวมหรือผิดรูปเนื่องจากใช้งานมานาน การจัดแนว (Alignment) ที่ไม่ดี แบริ่งหรือตลับลูกปืนสึกหรอ เป็นต้น

ดังนั้น การมีเครื่องวัดความสั่นสะเทือนสามารถบ่งบอกถึงสภาพของเครื่องจักรได้ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอย่างรวดเร็วผ่านข้อมูลตัวเลขจากการวิเคราะห์ของเครื่องวัด โรงงานสามารถวางแผนการซ่อมแซมได้ล่วงหน้า ดำเนินการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุด ให้เครื่องจักรเป็นไปตามมาตรฐานการสั่นสะเทือน (ISO 2372:1974) ป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเกิดการ Breakdown และเกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น อาทิ ค่าอะไหล่ ค่าแรงทีมงานช่างซ่อม หรือขาดรายได้ในช่วง Shutdown เพื่อซ่อมบำรุงนั่นเอง

 

โดยสามารถสรุปข้อดีของเครื่องวัดความสั่นสะเทือน ดังนี้

  • วางแผนซ่อมแซมเครื่องจักรล่วงหน้าหรือการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) ได้อย่างละเอียด
  • สามารถซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้อง Shutdown เพื่อซ่อมบำรุงให้เสียเวลา
  • ควบคุมการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 2372:1974 ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรหรือเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
  • ช่วยให้เครื่องจักรสามารถเดินเครื่องได้เต็มประสิทธิภาพ
  • ช่วยประหยัดงบประมาณการซ่อมบำรุงในระยะยาว ลดการเสียโอกาสในการผลิต
  • ยืดอายุการใช้งานชิ้นส่วนหรืออะไหล่ของเครื่องจักร

เห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรภายในโรงงานที่ขาดไปไม่ได้เลย ฉะนั้นมาดูกันเลยว่าควรจะเลือกซื้ออุปกรณ์ชิ้นนี้อย่างไรให้คุ้มค่าและตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด

 

การเลือกซื้อเครื่องวัดความสั่นสะเทือนควรพิจารณาปัจจัยใดบ้าง?

ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายจัดจำหน่ายเครื่องวัดความสั่นสะเทือนออกมาหลายรุ่น ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติและราคาที่แตกต่างกันไป สำหรับธุรกิจโรงงาน ก็ควรเลือกเครื่องวัดความสั่นสะเทือนที่เหมาะสมกับเครื่องจักรและฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานตรงจุดที่สุด โดยสามารถพิจารณาจากปัจจัยเบื้องต้น ดังนี้

1.รูปแบบการวัดความสั่นสะเทือน

หน่วยการวัดความสั่นสะเทือนถูกแบ่งออกเป็น 3 หน่วย ขึ้นอยู่กับเครื่องจักร ได้แก่

  • ระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement) - นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือนิ้ว (inch) เป็นการวัดแบบเต็มคลื่น (Peak to Peak) นิยมใช้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบต่ำระหว่าง 1,000 - 1,200 RPM หรือประมาณ 20 Hz
  • ความเร็ว (Velocity) - คือการวัดการสั่นแต่ละรอบว่ามีความเร็วเท่าไหร่ในแต่ละรอบของการสั่นสะเทือน วัดเป็นหน่วยมิลลิเมตร/วินาที (mm/s) และนิ้ว/วินาที (inch/s) และมักจะวัดแบบ RMS ใช้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบสูงกว่า 1,200 RPM หรือความถี่ระหว่าง 20 - 1,000 Hz
  • อัตราเร่ง (Acceleration) - เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อหน่วยเวลาของวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาทีกำลังสอง (mm/s2) ใช้สำหรับวัดการสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงกว่า 10 kHz ขึ้นไป

ให้สังเกตว่าเครื่องจักรภายในโรงงานนั้นทำงานในช่วงความถี่หรือความเร็วรอบในระดับไหน แล้วเครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้นๆ สามารถวัดค่าความสั่นสะเทือนรูปแบบไหนและครอบคลุมช่วงความถี่ใดบ้าง

 

2. เทคโนโลยีที่มากับเครื่องวัดความสั่นสะเทือน

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนรุ่นใหม่ๆ นั้นมักมาพร้อมกับฟังก์ชันเสริมต่างๆ เช่น การแสดงผลบนหน้าจอดิจิทัล เซนเซอร์วัดความสั่นสะเทือนและฐานรองแม่เหล็ก การบันทึกข้อมูลลงบน SD Card สำหรับตรวจสอบในภายหลัง เลือกโหมดหน่วยวัดได้หลากหลาย พอร์ตเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

หากมองว่าฟังก์ชันไหนที่เหมาะสมหรือสามารถตอบสนองความต้องการของโรงงาน ก็ควรเก็บไว้เป็นข้อพิจารณา นอกจากนี้ ยิ่งมีฟังก์ชันหรือเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ เครื่องวัดความสั่นสะเทือนยิ่งมีราคาสูงขึ้นเท่านั้น จึงต้องพิจารณาเรื่องของงบประมาณด้วย

 

3. ความน่าเชื่อถือของแบรนด์และผู้จัดจำหน่าย

ปัจจุบันนี้มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตเครื่องวัดความสั่นสะเทือนออกมาแข่งขันกันในหลายระดับคุณภาพและราคา โดยอาจเริ่มต้นตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน ดังนั้นธุรกิจโรงงานควรทำการศึกษาแบรนด์ต่างๆ ให้รอบคอบเสียก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพจริง มีการรับประกัน รวมไปถึงบริการหลังการขายในกรณีที่เกิดปัญหากับอุปกรณ์ หรือปัญหาในการใช้งาน อีกทั้งตัวแทนจำหน่ายต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ มีเอกสารยืนยันชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้

 

นอกจากปัจจัยหลักๆ ทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ควรพิจารณาด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการผลิต ความสะดวกในการใช้งาน ความสามารถในการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
 

 

Join our Newsletter

Subscribe our newsletter to receive the latest news and exclusive offers