Products


SoundCam Ultra 3
SoundCam Ultra Sensor
SoundCam 2.0
SoundCam Bionic XS microphone array
Acoustic Camera Bionic S
Acoustic Camera Bionic M
Acoustic Camera Bionic L
Acoustic Camera Wind Turbine
Acoustic Camera 3D
Acoustic Camera Customized

Acoustic Camera (กล้องตรวจวัดหาแหล่งกำเนิดเสียง) คุณภาพสูง

กล้องตรวจวัดหาแหล่งกำเนิดเสียง หรือที่หลายคนเรียกว่า Acoustic Camera เป็นเครื่องมือวัดเสียงที่ใช้ Array Microphones หรือไมโครโฟนหลายตัว ในการเก็บข้อมูลเสียงจากหลายทิศทาง โดยจะสามารถตรวจสอบหาแหล่งกำเนิดเสียงได้ดีกว่าเครื่องมือวัดเสียงทั่วไปที่ใช้ไมโครโฟนเพียงตัวเดียวในการฟังเสียง 

ที่ PAT (P&A Technology) เราเป็นตัวแทนจำหน่ายกล้องตรวจวัดหาแหล่งกำเนิดเสียง (Acoustic Camera) จากแบรนด์ชั้นนำ ที่สามารถช่วยในการค้นหาสิ่งผิดปกติที่ทำให้เกิดเสียงในหลายๆ Application เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป การันตีคุณภาพและความทนทาน มีระบบประมวลผลแบบ Real-Time ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว  เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลายตั้งแต่งานผลิตทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การตรวจสอบปัญหาลมรั่ว (Compressed Air Leak) ในโรงงาน ซึ่งจะเป็นการเสียพลังงานหรือต้นทุนของโรงงานไปโดยเปล่าประโยชน์ จนไปถึงการตรวจสอบการเสื่อมสภาพของฉนวนในอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Partial Discharge) ในโรงไฟฟ้า เป็นต้น

1.กล้อง Acoustic Camera ทำงานอย่างไร?

เมื่อพูดถึงเรื่องเสียงรบกวนแล้ว โดยพื้นฐานแล้วจะมีที่มาจากแหล่งกำเนิดเสียงที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยตามธรรมชาติทั่วไป หรือหากเป็นในโรงงานอุตสาหกรรมก็อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานต่างๆ เช่น ปัญหาลมรั่วตามท่อลมในโรงงาน อย่างในอุตสาหกรรมยานยนต์ จะสามารถใช้ค้นหาเสียงที่เกิดจากความผิดพลาดในการประกอบรถยนต์ และสำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้าจะสามารถช่วยระบุตำแหน่งของ External Partial Discharge ของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงได้ ไม่ว่าจะเป็น Corona Discharge, Surface Discharge และอื่นๆ เป็นต้น โดยกล้อง Acoustic Camera นี้เปรียบได้กับเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้ระบุตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียง เพื่อเป็นการค้นหาสิ่งผิดปกติที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาที่ยากเกินแก้ไขตามมาในระยะยาว

ในทางเทคนิคตัวกล้องจะมีการใช้ไมโครโฟนอาเรย์ในการรับเสียง ซึ่งจะทำงานคู่กับกล้อง Digital จากนั้นจะเป็นการประมวลผลสัญญาณออกมาเพื่อที่จะระบุตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียงบนภาพแบบ Real-Time เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาที่มาของเสียงได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

2.ตัวอย่างการใช้งานกล้อง Acoustic Camera ในอุตสาหกรรมต่างๆ

ปัจจุบัน ในกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ มีการใช้งานกล้อง Acoustic Camera กันอย่างแพร่หลาย อย่างในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปก็นิยมใช้ในการตรวจสอบเสียงที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาตำแหน่งรอยรั่วของท่ออากาศ และปัญหาการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าบนผิวอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง (Partial Discharge) ที่เป็นหนึ่งในปัญหายอดนิยมของอุปกรณ์ไฟฟ้า อย่างเช่น หม้อแปลง ที่ส่งผลให้เครื่องจักรเกิดการ Breakdown ทำให้โรงงานหรือโรงไฟฟ้าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมมหาศาล อีกทั้งต้องหยุดกระบวนการผลิตเป็นเวลาชั่วคราวด้วย นอกจากนี้อย่างในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็นิยมใช้ในการตรวจหาจุดกำเนิดเสียงรบกวนภายในห้องโดยสาร (BSR) เพื่อเป็นการทดสอบเสียงรบกวนที่ไม่พึงประสงค์ภายในรถยนต์ ตลอดจนงานทั่วไปที่ต้องการตรวจจับเสียงรบกวนก็สามารถใช้กล้อง Acoustic Camera ในการตรวจสอบและนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการต่อได้ทันที 

3.Acoustic Camera ใช้งานยากหรือไม่?

ที่ P&A เรามีกล้อง Acoustic Camera ที่เหมาะกับการทำงานในทุกระดับ แต่หากเป็นการทำงานเพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดเสียงในการทำงานทั่วไป แนะนำให้ใช้กล้อง Acoustic Camera ขนาดพกพาก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ด้วยเทคโนโลยีการทำงานแบบ Real-Time ทำให้ข้อมูลที่ได้แสดงผลบนหน้าจอทันที มีความแม่นยำสูง การออกแบบให้มีน้ำหนักเบา  ใช้งานง่าย สะดวกต่อการถือเพื่อใช้งาน ที่สำคัญคือราคาอยู่ในเกณฑ์ที่จับต้องได้ไม่แพงจนเกินไ

  • Line
  • Instagram
  • Facebook