News & Promotions

การตั้งศูนย์เพลาสำคัญแค่ไหน? แนะนำเครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์ที่ดีกว่า
การตั้งศูนย์เพลาสำคัญแค่ไหน? แนะนำเครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์ที่ดีกว่า

การติดตั้งเครื่องจักรโรงงานให้สามารถดำเนินงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องมีการตรวจสอบ ประเมิน และปรับปรุงในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นอะไหล่ที่ใช้ประกอบ ประเภทเชื้อเพลิง จุดประสงค์การใช้งาน หรืออื่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งในการติดตั้งและบำรุงรักษานั้นมีเรื่องของ “การตั้งศูนย์เพลา (Shaft Alignment)” ที่ต้องใส่ใจไม่น้อยไปกว่าด้านอื่นๆ เลย

 

การตั้งศูนย์เพลาเครื่องจักรคืออะไร?

การตั้งศูนย์เพลาในเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม คือ การตั้งศูนย์การหมุน (Center of Rotation) ของเพลาทั้งฝั่งขับและฝั่งถูกขับให้อยู่ในตำแหน่งที่ตรงกัน เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องไส หรืออื่นๆ มักจะทำงานโดยใช้กำลังส่งจากเพลาที่รองรับด้วยลูกปืน โดยมีเฟืองเป็นตัวส่งกำลังจากเพลาหนึ่งไปยังอีกเพลาหนึ่ง พูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเพลา (Shaft) คือส่วนสำคัญในการเดินเครื่องจักรที่ขาดไปไม่ได้นั่นเอง

นอกเหนือจากนั้น การตั้งศูนย์เพลาต้องทำในขณะที่เครื่องจักรหยุดนิ่ง เพื่อกำหนดค่าการเยื้องศูนย์ที่ถูกต้อง ซึ่งอาจใช้อุปกรณ์ตั้งศูนย์เพลาอย่างไดอัลเกจ (Dial Gauge) ซึ่งช่างซ่อมก็จำเป็นต้องฝึกฝนใช้งานจนเกิดความเชี่ยวชาญเสียก่อน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา Bar Sag ที่ส่งผลให้อ่านค่าผิดไปจากเดิม ในปัจจุบันนี้จึงมีการพัฒนาเครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์ที่ใช้งานสะดวก แม่นยำ และรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาในการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปัญหาของ “เพลา” เครื่องจักร

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เพลา หรือ Shaft คืออะไหล่ที่แสนสำคัญของเครื่องจักร เพราะมีหน้าที่ทำงานสัมพันธ์กันกับการทำงานของเฟือง เพลาในเครื่องจักรส่วนมากจึงถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงกว่าส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตามจุดที่มักพบปัญหาบ่อยๆ ได้แก่

  • การเยื้องศูนย์ - สามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้งานโดยขาดการบำรุงรักษา หรือเกิดจากการใส่ลิ่มที่อัดแน่นเกินไปจนไปดันเฟืองออก ส่งผลให้ศูนย์เพลาเยื้องออกไปด้วย จนต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อตั้งศูนย์เพลาใหม่อยู่บ่อยครั้ง
  • แรงกระแทก - บางกรณีอาจเกิดช่องว่างระหว่างลิ่มและร่องลิ่ม ผนวกกับเพลากับรูของตัวส่งกำลังหลวมคลอน ทำให้เกิดแรงกระแทกขณะที่เพลาหมุน ส่งผลให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  • เพลาโก่งงอ - บางครั้งเพลาอาจถูกอัดโดยฟันเฟืองหรือชิ้นส่วนที่ทำการส่งกำลังขณะเครื่องจักรทำงาน จนเพลาเกิดการโก่งงอ ซึ่งหากนำเพลาไปดัดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ ก็อาจมีสภาพไม่เหมือนเดิม ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออะไหล่ส่วนอื่นในภายหลัง

 

การตั้งศูนย์เพลาสำคัญแค่ไหน?

ช่างซ่อมบำรุงและผู้เชี่ยวชาญคงทราบดีว่าการตั้งศูนย์เพลาให้ถูกต้องนั้นสำคัญมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการปรับตั้งตำแหน่ง Shaft Alignment คลาดเคลื่อน หรือมีค่าพิกัดเกินมาตรฐานกำหนด ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดปัญหา เช่น การเยื้องศูนย์ของเพลาไม่ตรงกันที่ได้ระบุไปข้างต้น โดยเมื่อศูนย์เกิดเยื้อง รับภาระแรงกดหรือ Strain มากจนเกินไปก็จะถูกกระจายไปยังชิ้นส่วนอื่นๆ อย่างซีลและคลับลูกปืนจนเสียหาย ทำให้เครื่องจักรมีค่าแรงสั่นสะเทือน (Vibration) สูงกว่าปกติจนเกิดความร้อนสะสม และนำไปสู่การ Breakdown ของเครื่องจักรในที่สุด

แน่นอนว่าเมื่อเครื่องจักรหยุดทำงานอย่างกะทันหัน กระบวนการผลิตก็ต้องหยุดชะงักไปด้วย ทำให้อัตราการผลิตลดลง ส่งผลกระทบทางด้านเงินทุนและธุรกิจโรงงานได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะเมื่ออยู่ท่ามกลางภาวะที่การแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เห็นได้ว่าการวางแผนซ่อมบำรุงตั้งศูนย์เพลาและลงทุนซื้อเครื่องมือตั้งศูนย์เพลาที่ได้คุณภาพ ถือว่าเป็นเครื่องป้องกันที่ดีและช่วยเซฟโรงงานจากเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้

 

แนะนำเครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์จาก P&A Technology

เพราะเครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์คือเครื่องมือสำคัญในการบำรุงรักษาเครื่องจักรโรงงาน ที่ PAT (P&A Technology) พร้อมจำหน่ายเครื่องมือตั้งศูนย์เพลาคุณภาพสูงจากแบรนด์ Easy-Laser เช่น XT440 - Line Laser ที่เหมาะสำหรับทุกขั้นตอนการตั้งศูนย์เพลา หรือจะเป็น XT660 - Dot Laser สำหรับตั้งศูนย์เพลาเครื่องจักรขนาดใหญ่ด้วยความแม่นยำสูง 

โดยเครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์มาพร้อมกับฟังก์ชันการทำงานแบบไร้สาย (Wireless) ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับ Smart Phone หรือ Tablet ต่างๆ ได้อีกด้วย ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบาและใช้งานง่าย เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานของวิศวกรและช่างซ่อมบำรุง ธุรกิจโรงงานสามารถดำเนินกระบวนการผลิตได้แบบหมดกังวลเลยทีเดียว

นอกจากนี้ เรายังจำหน่ายอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมอื่นๆ อย่างครบวงจร พร้อมบริการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี เพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆ ของลูกค้าในด้านวิศวกรรมอย่างครบวงจร

 

ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง

โทร.: 02-454-2478

Email: info@pat.co.th

LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d

 

ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร

Facebook: P&A Technology Company Limited

Instagram: pandatech_official

เลือกเครื่องวัดความสั่นสะเทือนแบบไหนดี? วัดค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกเครื่องวัดความสั่นสะเทือนแบบไหนดี? วัดค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม “เครื่องจักร” คือ หนึ่งในหัวใจหลักของการดำเนินงานการผลิตต่างๆ แน่นอนว่าเมื่อมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรเหล่านี้มักเสื่อมสภาพและต้องถูกซ่อมบำรุงเป็นธรรมดา แต่บางครั้งอาการที่บ่งบอกถึงภาวะของเครื่องจักรก็ไม่ชัดเจนมากนัก อย่างการสั่นสะเทือน ที่มักถูกมองข้ามไปได้ง่ายๆ ด้วยเหตุนี้อุปกรณ์อย่างเครื่องวัดความสั่นสะเทือน จึงเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ทุกโรงงานควรมีเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ก่อนซื้อเครื่องวัดความสั่นสะเทือน ควรที่จะศึกษาและเลือกให้ดีเสียก่อน เพื่อประสิทธิภาพในการวัดค่าที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ

ทำไมต้องวัดการสั่นสะเทือน? การเลือกซื้อเครื่องวัดความสั่นสะเทือนควรพิจารณาปัจจัยใดบ้าง? PAT จะมาแนะนำให้ทราบ พร้อมพามาทำความรู้จักเครื่องวัดความสั่นสะเทือนคุณภาพสูงระดับสากลจากแบรนด์ SPM

 

ทำไมต้องวัดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร?

โดยทั่วไป การเดินเครื่องจักรขนาดใหญ่ในโรงงานผลิตก็มักจะเกิดการสั่นสะเทือนจากการทำงานเป็นเรื่องปกติ  อย่างไรก็ตาม เมื่อความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรเกิดเปลี่ยนแปลงหรือสั่นสะเทือนผิดรุนแรงปกติ นั่นอาจหมายความว่าเครื่องจักรกำลังมีปัญหา อย่างเช่น เฟืองชำรุด ชิ้นส่วนหลุดหลวมหรือผิดรูปเนื่องจากใช้งานมานาน การจัดแนว (Alignment) ที่ไม่ดี แบริ่งหรือตลับลูกปืนสึกหรอ เป็นต้น

ดังนั้น การมีเครื่องวัดความสั่นสะเทือนสามารถบ่งบอกถึงสภาพของเครื่องจักรได้ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอย่างรวดเร็วผ่านข้อมูลตัวเลขจากการวิเคราะห์ของเครื่องวัด โรงงานสามารถวางแผนการซ่อมแซมได้ล่วงหน้า ดำเนินการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุด ให้เครื่องจักรเป็นไปตามมาตรฐานการสั่นสะเทือน (ISO 2372:1974) ป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเกิดการ Breakdown และเกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น อาทิ ค่าอะไหล่ ค่าแรงทีมงานช่างซ่อม หรือขาดรายได้ในช่วง Shutdown เพื่อซ่อมบำรุงนั่นเอง

 

โดยสามารถสรุปข้อดีของเครื่องวัดความสั่นสะเทือน ดังนี้

  • วางแผนซ่อมแซมเครื่องจักรล่วงหน้าหรือการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) ได้อย่างละเอียด
  • สามารถซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้อง Shutdown เพื่อซ่อมบำรุงให้เสียเวลา
  • ควบคุมการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 2372:1974 ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรหรือเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
  • ช่วยให้เครื่องจักรสามารถเดินเครื่องได้เต็มประสิทธิภาพ
  • ช่วยประหยัดงบประมาณการซ่อมบำรุงในระยะยาว ลดการเสียโอกาสในการผลิต
  • ยืดอายุการใช้งานชิ้นส่วนหรืออะไหล่ของเครื่องจักร

เห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรภายในโรงงานที่ขาดไปไม่ได้เลย ฉะนั้นมาดูกันเลยว่าควรจะเลือกซื้ออุปกรณ์ชิ้นนี้อย่างไรให้คุ้มค่าและตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด

 

การเลือกซื้อเครื่องวัดความสั่นสะเทือนควรพิจารณาปัจจัยใดบ้าง?

ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายจัดจำหน่ายเครื่องวัดความสั่นสะเทือนออกมาหลายรุ่น ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติและราคาที่แตกต่างกันไป สำหรับธุรกิจโรงงาน ก็ควรเลือกเครื่องวัดความสั่นสะเทือนที่เหมาะสมกับเครื่องจักรและฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานตรงจุดที่สุด โดยสามารถพิจารณาจากปัจจัยเบื้องต้น ดังนี้

1.รูปแบบการวัดความสั่นสะเทือน

หน่วยการวัดความสั่นสะเทือนถูกแบ่งออกเป็น 3 หน่วย ขึ้นอยู่กับเครื่องจักร ได้แก่

  • ระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement) - นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือนิ้ว (inch) เป็นการวัดแบบเต็มคลื่น (Peak to Peak) นิยมใช้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบต่ำระหว่าง 1,000 - 1,200 RPM หรือประมาณ 20 Hz
  • ความเร็ว (Velocity) - คือการวัดการสั่นแต่ละรอบว่ามีความเร็วเท่าไหร่ในแต่ละรอบของการสั่นสะเทือน วัดเป็นหน่วยมิลลิเมตร/วินาที (mm/s) และนิ้ว/วินาที (inch/s) และมักจะวัดแบบ RMS ใช้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบสูงกว่า 1,200 RPM หรือความถี่ระหว่าง 20 - 1,000 Hz
  • อัตราเร่ง (Acceleration) - เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อหน่วยเวลาของวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาทีกำลังสอง (mm/s2) ใช้สำหรับวัดการสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงกว่า 10 kHz ขึ้นไป

ให้สังเกตว่าเครื่องจักรภายในโรงงานนั้นทำงานในช่วงความถี่หรือความเร็วรอบในระดับไหน แล้วเครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้นๆ สามารถวัดค่าความสั่นสะเทือนรูปแบบไหนและครอบคลุมช่วงความถี่ใดบ้าง

 

2. เทคโนโลยีที่มากับเครื่องวัดความสั่นสะเทือน

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนรุ่นใหม่ๆ นั้นมักมาพร้อมกับฟังก์ชันเสริมต่างๆ เช่น การแสดงผลบนหน้าจอดิจิทัล เซนเซอร์วัดความสั่นสะเทือนและฐานรองแม่เหล็ก การบันทึกข้อมูลลงบน SD Card สำหรับตรวจสอบในภายหลัง เลือกโหมดหน่วยวัดได้หลากหลาย พอร์ตเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

หากมองว่าฟังก์ชันไหนที่เหมาะสมหรือสามารถตอบสนองความต้องการของโรงงาน ก็ควรเก็บไว้เป็นข้อพิจารณา นอกจากนี้ ยิ่งมีฟังก์ชันหรือเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ เครื่องวัดความสั่นสะเทือนยิ่งมีราคาสูงขึ้นเท่านั้น จึงต้องพิจารณาเรื่องของงบประมาณด้วย

 

3. ความน่าเชื่อถือของแบรนด์และผู้จัดจำหน่าย

ปัจจุบันนี้มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตเครื่องวัดความสั่นสะเทือนออกมาแข่งขันกันในหลายระดับคุณภาพและราคา โดยอาจเริ่มต้นตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน ดังนั้นธุรกิจโรงงานควรทำการศึกษาแบรนด์ต่างๆ ให้รอบคอบเสียก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพจริง มีการรับประกัน รวมไปถึงบริการหลังการขายในกรณีที่เกิดปัญหากับอุปกรณ์ หรือปัญหาในการใช้งาน อีกทั้งตัวแทนจำหน่ายต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ มีเอกสารยืนยันชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้

 

นอกจากปัจจัยหลักๆ ทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ควรพิจารณาด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการผลิต ความสะดวกในการใช้งาน ความสามารถในการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

 

แนะนำเครื่องวัดความสั่นสะเทือนคุณภาพจาก PAT

บริษัท PAT (P&A Technology) คือตัวแทนจัดจำหน่ายเครื่องวัดความสั่นสะเทือนจากแบรนด์ SPM (SPM Instrument) อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวในโลกที่มีการวิเคราะห์ “Shock Pulse” สามารถตรวจจับสัญญาณความผิดปกติของ Bearing และ Gearbox ในเครื่องจักรรอบต่ำได้ดีกว่าการอาศัยสัญญาณการสั่นสะเทือนทั่วไป โดยมีรุ่นที่แนะนำ 2 รุ่นหลัก คือ

 

1. SPM Leonova Diamond

เครื่องวัดความสั่นสะเทือนรุ่น Flagship ของ SPM เป็นเครื่องแบบพกพาสำหรับวัดค่าความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีครบครันและคุณสมบัติการใช้งานที่ทนทานกว่า เหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานเคมี เหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงงานผลิตเหล็ก และอื่นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษมากมาย เช่น

  • เทคโนโลยีการตรวจสอบแบริ่ง SPM HD® ลิขสิทธิ์เฉพาะของแบรนด์
  • หน้าจอแสดงผล TFG-LCD Color Display ขนาด 4.3 นิ้ว
  • ปุ่ม Function สามารถตั้งค่าได้
  • รองรับทรานสดิวเซอร์ (Transducer) มาตรฐาน IEPE
  • รองรับระดับความถี่สูงถึง 40 kHz
  • วัดความเร็วได้ถึง 120,000 RPM
  • สามารถวัด FFT Spectrum ได้มากถึง 25,600 เส้น
  • มีฟังก์ชัน Stethoscope พร้อมช่องเสียบหูฟัง
  • ตัวเครื่องเสริมด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ พร้อมมีมาตรฐาน IP65
  • แบตเตอรี่ Li-ion ใช้งานต่อเนื่องยาวนาน 16 ชั่วโมง สามารถถอดเปลี่ยนได้

 

2. SPM Leonova Emerald

เครื่องวัดความสั่นสะเทือนอีกหนึ่งรุ่นจาก SPM ซึ่งเป็นเครื่องวัดค่าความสั่นสะเทือนแบบพกพา มีขนาดกะทัดรัด ใช้งานได้ในทุกอุตสาหกรรม ตอบโจทย์วิศวกรและช่างเทคนิคได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นในสภาพแวดล้อมที่สมบุกสมบันแค่ไหนก็ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ มาพร้อมคุณสมบัติโดดเด่นมากมาย อาทิ

  • เทคโนโลยีการตรวจสอบแบริ่ง SPM HD® ลิขสิทธิ์เฉพาะของแบรนด์
  • หน้าจอแสดงผล TFG-LCD Color Display ขนาด 3.5 นิ้ว
  • ปุ่ม Function สามารถตั้งค่าได้
  • รองรับทรานสดิวเซอร์ (Transducer) มาตรฐาน IEPE
  • รองรับระดับความถี่สูงถึง 20 kHz
  • วัดความเร็วได้ถึง 120,000 RPM
  • สามารถวัด FFT Spectrum ได้มากถึง 12,800 เส้น
  • มีฟังก์ชัน Stethoscope พร้อมช่องเสียบหูฟัง
  • ตัวเครื่องเสริมด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ พร้อมมีมาตรฐาน IP65
  • แบตเตอรี่ Li-ion ใช้งานต่อเนื่องยาวนาน 18 ชั่วโมง สามารถถอดเปลี่ยนได้

 

เครื่องวัดความสั่นสะเทือนทั้ง 2 รุ่นนี้มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 300,000 - 400,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับฟังชั่นที่ทางลูกค้าต้องการ

หากสนใจสามารถติดต่อสอบถาม หรือ สั่งซื้อสินค้าผ่านช่างทางต่างๆ

โทร.: 02-454-2478

Email: info@pat.co.th

LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d

 

ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร

Facebook: P&A Technology Company Limited

Instagram: pandatech_official

ไขข้อสงสัยการบำรุงรักษา PdM คืออะไร? และทำไมต้องใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือน?
ไขข้อสงสัยการบำรุงรักษา PdM คืออะไร? และทำไมต้องใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือน?

ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม หนึ่งในปัญหาที่เป็นเรื่องกวนใจมากที่สุด คงหนีไม่พ้นเรื่องของ “งานซ่อมบำรุง” เพราะถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางความเป็นไปของกระบวนการผลิตของโรงงานเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในงานผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่แล้ว ต้องพึ่งพาเครื่องจักรจำนวนมาก ทำให้ฝ่ายผลิตในโรงงานส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมีการวางแผนการผลิต หรือควบคุมปริมาณการผลิตให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางตามกรอบเวลาเอาไว้ ทำให้หากวันใดวันหนึ่งมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น อย่างปัญหาเครื่องจักรผิดปกติ เกิดการชำรุด เสียหาย ฯลฯ ย่อมส่งผลกระทบอย่างมหาศาลโดยตรงต่อโรงงานไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ดังนั้นในบทความนี้จะขอพาทุกคนมารู้จักกับวิธีการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ หรือที่หลายคนมักจะเรียกกันติดปากว่า PdM ว่าคืออะไร? และมีความสำคัญต่อแนวทางการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างไร? และปัญหาที่หลายๆ โรงงานเจอเป็นประจำอย่างการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรที่ส่งผลต่อการชำรุดในระยะยาว มีวิธีตรวจสอบอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

 

การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance) คืออะไร

การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ หรือ PdM เป็นเทคนิคงานซ่อมเชิงวิศวกรรม ที่อาศัยการตรวจสอบวางแผนงานซ่อมบำรุงให้เหมาะสม เพื่อที่จะกำหนดแผนงานตามเวลาในการเข้าไปทำการบำรุงรักษาก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดอาการ Breakdown โดยในการตรวจสอบปัญหาของเครื่องจักรนั้น จะต้องมีการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยให้สามารถคาดเดาปัญหาของเครื่องจักร และระยะเวลาการเสื่อมสภาพได้ ทำให้ผลลัพธ์ของการบำรุงรักษาเป็นไปตามกรอบเวลา งบประมาณ ช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินให้กับโรงงานได้ในระยะยาว ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

เทคนิคซ่อมบำรุงแบบ PdM ทำอย่างไรได้บ้าง

อย่างที่เกริ่นไปในข้างต้นแล้วว่าการบำรุงรักษาแบบ PdM สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ของเครื่องจักรได้หลากหลาย โดยพื้นฐานแล้วเทคนิคการซ่อมบำรุงแบบแบบ PdM มีดังนี้

 

การสั่นสะเทือนของเครื่องจักร ปัญหายอดฮิตของโรงงานอุตสาหกรรม 

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเครื่องจักรหรือมอเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมทุกชนิด จะมีค่าความสั่นที่บ่งบอกถึงสภาพของเครื่องจักรอยู่ หากสูงเกินไปหรือน้อยเกินไป นั่นหมายถึงอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอะไหล่หรือชิ้นส่วนบางอย่างเสียหาย โครงสร้างแตกร้าว จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบและบำรุงรักษาให้ทันท่วงที ดังนั้นเครื่องวัดความสั่นสะเทือนจึงเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อตรวจสอบปัญหาอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถวางแผนการซ่อมบำรุงได้ล่วงหน้า มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว 

สำหรับใครที่สงสัยว่าแล้วเครื่องวัดความสั่นสะเทือน ทำงานอย่างไร? โดยพื้นฐานแล้วหลักการทำงานของเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือนจะถูกนำมาใช้ในการวัดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรหมุน (Rotating Machine)  เพื่อตรวจสอบว่าการ “แกว่ง” หรือ “หมุน” ของเครื่องจักรมีความสมดุลมากพอหรือไม่ โดยอาศัยเครื่องวัดความสั่นสะเทือนในการเก็บสัญญาณของเครื่องจักรเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสัญญาณความผิดปกติต่างๆ  

 

ส่วนใหญ่แล้ว หากพบปัญหาของการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร มักเกิดจากความผิดปกติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • ปัญหาการเสียสมดุลของเพลาหมุน (Unbalance หรือ Imbalance)
  • ปัญหาการเยื้องศูนย์แนวเพลา (Misalignment)
  • สภาพการหลวมคลอน (Losness)
  • ความถี่ของการสั่นพ้องในเครื่องจักร (Resonance)
  • ความเสียหายภายในตลับลูกปืน (Bearing Defect)
  • ปัญหาสายพานผิดปกติ (Belt Defect)
  • สภาพน้ำมันหล่อลื่น (Lubrication Condition)
  • ระบบไฟฟ้าบกพร่อง (Electric Fault)
  • ชุดเกียร์มีปัญหา (Gear Defect)

ปัญหาของเครื่องจักรเหล่านี้ หากปล่อยทิ้งไว้หรือขาดการซ่อมบำรุงอย่างถูกวิธี ก็จะส่งผลให้เครื่องจักรชำรุด เสียหาย หรือมากไปกว่านั้นคือเครื่องจักรอาจจะไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ดังเดิม ส่งผลให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเกินจำเป็น

เพื่อให้แน่ใจว่ามีการเตรียมการรับมือกับปัญหาเครื่องจักรอย่างรอบคอบ การมองหาเครื่องวัดความสั่นสะเทือน ราคาเป็นมิตร มีคุณภาพตามมาตรฐาน และตอบโจทย์งานวิศวกรซ่อมบำรุงและช่างเทคนิคได้อย่างดีเยี่ยม ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามปล่อยปละละเลยเป็นอันขาด หากใครสนใจสามารถเข้ามาสอบถามพูดคุยและรับคำปรึกษากับ P&A Technology ได้ที่

 

ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง

โทร.: 02-454-2478

Email: info@pat.co.th

LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d

 

ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร

Facebook: P&A Technology Company Limited

Instagram: pandatech_official

ไม่อยากให้เงินรั่ว ต้องรู้จักเช็กการรั่วไหลของระบบอัดอากาศด้วย Acoustic camera
ไม่อยากให้เงินรั่ว ต้องรู้จักเช็กการรั่วไหลของระบบอัดอากาศด้วย Acoustic camera

เรื่องของรอยรั่วของระบบอัดอากาศถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม เรียกได้ว่าเป็นปัญหาคลาสสิกที่ผู้ประกอบการโรงงานส่วนใหญ่จะต้องพบเจอกันเป็นประจำอย่าง ปัญหาการเกิดรอยรั่วในระบบอัดอากาศ (Air/Gas Leak) ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงสภาพของเครื่องจักรที่ถึงเวลาซ่อมบำรุง หรือในบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีโอกาสที่ทำให้โรงงานเกิดข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาของการรบกวนผู้คนในชุมชนโดยรอบ ขอบอกเลยว่าถ้าถึงขนาดต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเมื่อไหร่ ปัญหาอีกมากมายจะต้องตามมาอย่างแน่นอน

ดังนั้น เรื่องของการหมั่นตรวจสอบรอยรั่วระบบอัดอากาศของเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอจึงควรเป็น First Priority ของโรงงาน โดยส่วนใหญ่แล้วการตรวจสอบรอยรั่วระบบอัดอากาศของเครื่องจักรในโรงงานมักนิยมใช้งาน กล้องตรวจวัดเสียง หรือ Acoustic camera ไว้คอยระบุตำแหน่งที่มีอากาศหรือก๊าซรั่วไหล เพื่อเตรียมพร้อมในการประเมินผลกระทบในการบำรุงรักษาเครื่องจักรอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งานกล้อง Acoustic camera เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้ P&A จะพามารู้จักปัญหาการรั่วไหลของระบบอัดอากาศให้มากขึ้น ที่ขอเตือนเอาไว้เลยว่าถ้าไม่ระวังให้ดีอาจนำไปสู่ความสูญเสียของโรงงานที่ประเมินไม่ได้เลยทีเดียว ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

 

ปัญหาการรั่วไหลของระบบอัดอากาศ คืออะไร?

หนึ่งในสิ่งที่น่ารำคาญใจของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ คงหนีไม่พ้นปัญหาการรั่วไหลของระบบอัดอากาศตามเครื่องอัดอากาศ ท่อ วาล์ว  ที่มองเผินๆ อาจจะดูไม่ใช่เรื่องร้ายแรงแต่ก็คล้ายกับอาการเวลาโดนมดกัดที่ถ้าหากโดนหลายจุดพร้อมๆ กัน ก็ต้องมีสะดุ้งกันบ้างไม่มากก็น้อย จากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ได้ระบุว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการรั่วไหลในระบบอัดอากาศของโรงงานจะอยู่ที่ประมาณ 25% แต่อาจมีโรงงานบางแห่งที่ประสบปัญหานี้สูงถึง 80% เลยทีเดียว และหากขาดการเตรียมพร้อมรับมือและแก้ไขให้ทันท่วงที การรั่วไหลเหล่านี้ก็อาจนำไปสู่เหตุการณ์ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายและค่าใช้จ่ายบานปลายจนทำให้โรงงานต้องขาดทุน ส่งผลให้ต้องหยุดกระบวนการผลิตแบบกะทันหัน ไปจนถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม และชุมชนโดยรอบ 

การรั่วไหลดังกล่าว โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การรั่วตรงและการรั่วซึม ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมสามารถพบกับการรั่วไหลได้ทั้งสองรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่มักจะเจอกับปัญหาการรั่วซึมมากกว่า เนื่องจากการรั่วซึมนั้นสังเกตได้ยาก มีเสียงเบา ทำให้มักถูกละเลยเพราะคิดว่าสูญเสียพลังงานไปไม่มาก ส่วนการรั่วตรงมักจะพบที่จุดควบคุมนิวเมติกส์ (Pneumatic) เช่น การรั่วไหลของวาล์วควบคุม หรือชุดปรับลดแรงดัน

 

การรั่วในระบบลมหรือปั๊มลม (Air Compressor) มักมีสาเหตุมาจาก

  • ข้อผิดพลาดในการติดตั้งระบบ เช่น การขันสกรูและซีลที่อาจจะแน่นเกินไป หรืออาจเกิดความเสียหายทางกลที่เกิดขึ้นอย่างผลจากการขัดท่อ
  • การจัดการส่วนประกอบของอากาศอัดที่ไม่ถูกต้อง เช่น ปัญหาการตัดท่อที่ไม่ถูกต้อง
  • ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งส่วนประกอบของระบบอัดอากาศ
  • ความเค้นทางเคมีที่เกิดจากสภาพการทำงานของส่วนประกอบและวัสดุที่ไม่ถูกต้อง 

 

การหมั่นตรวจสอบปัญหา Air/Gas Leak โรงงานได้ประโยชน์อย่างไร?

สำหรับใครที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเชิงเทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรม คงพอจะทราบกันดีว่าเรื่องของอากาศอัด (Compressed Air) เป็นหนึ่งในระบบที่ต้องใช้พลังงานมากที่สุดอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรม และหากเกิดเหตุการณ์อย่างการรั่วของอากาศอัดขึ้นในระบบเมื่อไหร่ นั่นหมายความว่าโรงงานย่อมสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ ในชนิดที่ว่าทำเอาเจ้าของโรงงานต้องกุมขมับอย่างแน่นอน โดยมีงานวิจัยจากประเทศเยอรมันพบว่า การเกิดลมรั่วขึ้นกับรูรั่วที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 มม. ภายในระยะเวลา 1 ปี จะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตลมโดยไม่เกิดประโยชน์ไปถึง 270 ยูโร หรือจากข้อมูลของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกาที่ระบุว่า รอยรั่วของอากาศอัดขนาด ⅛ นิ้ว หรือประมาณ 3 มม. เพียงแค่จุดเดียวสามารถสร้างความเสียหายสูงถึง 2,500 ดอลลาร์ต่อปี ลองคิดดูว่าในกรณีที่โรงงานมีลมรั่ว 10 จุด และแต่ละจุดเป็นรูรั่วขนาด 3 มม. ภายในระยะเวลา 1 ปี จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับค่าไฟฟ้าที่สูงมากเกินความจำเป็นไปเป็นจำนวนเงินที่มากขนาดไหน

สำหรับวิธีแก้ปัญหาลมรั่วในระบบอัดอากาศนี้ สามารถทำได้โดยอาศัยเครื่องมืออย่างกล้อง Acoustic camera เพื่อทำการตรวจวัด เพราะโดยหลักการของการเกิดลมรั่วนั้นเกิดจากอากาศที่ไหลผ่านรูรั่วและจะเกิดคลื่นความถี่เสียงอัลตราโซนิก (Ultrasonic Sound) ด้วยคลื่นความถี่หูของคนเราไม่สามารถได้ยินหรือรับฟังคลื่นความถี่นี้ได้ และโดยพื้นฐานแล้วการตรวจสอบการรั่วไหลในระบบอัดอากาศจะต้องพิจารณาทั้ง 4 ส่วนของระบบ ได้แก่

  • การสร้างอากาศอัด (Generation)
  • การเตรียมอากาศอัด (Prepation)
  • การขนส่งอากาศอัด (Distribution)
  • การนำอากาศอัดไปใช้งาน (Application)

ก็จบไปแล้วสำหรับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาการรั่วไหลของระบบอัดอากาศ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมหรือใครที่อยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้อง ที่ก่อนหน้านี้คิดว่าปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กๆ แต่อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าหากปล่อยเอาไว้ ผลที่ตามมาไม่เล็กอย่างที่คิดแน่นอน และยังส่งผลกระทบในระยะยาวอีกด้วย การหมั่นสังเกต ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงหรือการใช้กล้อง Acoustic camera เพื่อช่วยในการหาสาเหตุของการรั่วไหล ก็จะทำให้เกิดการวางแผนการซ่อมแซมได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

แนะนำ Acoustic Camera จาก P&A

บริษัท PAT (P&A Technology) คือ ตัวแทนจัดจำหน่ายกล้องตรวจวัดเสียงจากแบรนด์ SoundCam อย่างเป็นทางการ โดยเป็นกล้องถ่ายภาพเสียงตั้งแต่ความถี่ต่ำจนไปถึงอัลตราซาวด์เครื่องแรกของโลก สามารถประมวลผลจากเสียงในรูปแบบต่างๆ และยังสามารถแปลงข้อมูลจากเสียงที่ได้ยินให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปประมวลผลต่อได้ โดยมีการแสดงผลผ่านจอแสดงผลแบบเรียลไทม์ อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ครอบคลุมทุกความต้องการในการระบุตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียง 

โดยที่ P&A เรามีกล้อง Acoustic Camera ราคาเป็นมิตร และผ่านมาตรฐานระดับโลก มาแนะนำ  

 

Acoustic Camera SoundCam Ultra

กล้องวัดระดับเสียง SoundCam Ultra เป็นอุปกรณ์วัดระดับเสียงขนาดพกพา ใช้งานง่าย มาพร้อมจอแสดงผลในตัว สามารถวัดระดับเสียงคลื่นความถี่สูงสุดถึง 100 kHz (Ultra High Frequencies) สามารถใช้ในการระบุปัญหาการรั่วไหลในท่อแรงดันและการรั่วของท่อสุญญากาศ โดยใช้ซอฟต์แวร์ SoundCam ในการประมวลผล นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษอีกมากมาย อาทิ

  • รองรับมาตรฐานกันน้ำระดับ IP54
  • ช่วงความถี่ 2 kHz - 100 kHz แบบ Beamforming
  • น้ำหนักเบาเพียง 3.3 lbs (1.4 kg)
  • ตรวจจับ External Partial Discharge
  • ปุ่ม Function ตั้งค่าได้ 8 ปุ่ม

 

ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง

โทร.: 02-454-2478

Email: info@pat.co.th

LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d

 

ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร

Facebook: P&A Technology Company Limited

Instagram: pandatech_official

ทำความรู้จัก “เครื่องวัดความสั่นสะเทือน” ตัวช่วยสำคัญในการบำรุงเครื่องจักร
ทำความรู้จัก “เครื่องวัดความสั่นสะเทือน” ตัวช่วยสำคัญในการบำรุงเครื่องจักร

เครื่องจักรแทบทุกชนิดที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถสร้าง “แรงสั่นสะเทือน” โดยเป็นผลมาจากการเดินเครื่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำ แต่เชื่อว่าเจ้าของโรงงาน ธุรกิจ และผู้ปฏิบัติงานคงทราบกันดีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม เมื่อเครื่องจักรเกิดการสั่นสะเทือนมาก เป็นจังหวะผิดปกติ เสียงสั่นดัง หรือเกิดความร้อน นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเครื่องจักรมีการทำงานที่ผิดแปลกไป ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง จึงต้องมีการตรวจสอบสภาพ วิเคราะห์ และซ่อมบำรุง โดยอาศัยเครื่องมืออย่าง “เครื่องวัดความสั่นสะเทือน” ที่ถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักร

เครื่องวัดความสั่นสะเทือนคืออะไร? มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง? เป็นประโยชน์ต่อโรงงานและธุรกิจมากน้อยเพียงไหน? มาหาคำตอบไปพร้อมกับ PAT ในบทความนี้

เครื่องวัดความสั่นสะเทือนคืออะไร?

เครื่องวัดความสั่นสะเทือน หรือ Vibration Analyzer คือ เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์และตรวจสอบการสั่นของวัตถุ ซึ่งเป็นการตรวจสอบการตอบสนองของวัตถุหรือเครื่องจักรให้เป็นไปตามมาตรฐานการสั่นสะเทือน (ISO 2372:1974) เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรนั้นๆ สามารถดำเนินงานได้เต็มประสิทธิภาพ และไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น

โดยทั่วไป การวัดแรงสั่นสะเทือนนั้นจะวิเคราะห์จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

1. ระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement)

คือ การวัดการสั่นในแต่ละรอบว่ามีระยะเคลื่อนที่ไปมากแค่ไหนจากจุดอ้างอิงแรก โดยเป็นการวัดแบบ “เต็มคลื่น (Peak To Peak)” ซึ่งนิยมใช้หน่วยวัดเป็น “มิลลิเมตร (mm) หรือ นิ้ว (inch)” โดยการวัด Displacement มักจะใช้วัดเครื่องจักรที่มีรอบต่ำ หรือไม่เกิน 1,200 รอบต่อนาที หรือมีระดับความถี่การสั่นสะเทือนไม่เกินกว่า 20 Hz

2. ความเร็ว (Velocity)

คือ การวัดความเร็วในแต่ละรอบการสั่นสะเทือน โดยจะเป็นการวัดแบบ RMS และนิยมใช้หน่วยวัดเป็น “มิลลิเมตรต่อวินาที (mm/s)” ปัจจัยการวัดแรงสั่นสะเทือนนี้สามารถใช้ได้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบมากกว่า 1,200 รอบต่อนาที และมีระดับความถี่การสั่นสะเทือนอยู่ระหว่าง 20 Hz ถึง 1,000 Hz

3. อัตราเร่ง (Acceleration)

คือ การวัดอัตราความเร็วเครื่องจักรจากศูนย์ถึงจุดสูงสุดในแต่ละรอบการสั่นสะเทือน โดยมีหน่วยวัดเป็น “มิลลิเมตรต่อวินาทียกกำลังสอง (mm/s2)” ซึ่งใช้ในการวัดการสั่นสะเทือนความถี่สูงตั้งแต่ 10 kHz ขึ้นไปนั่นเอง

สาเหตุของการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรมีหลากหลาย อาทิ ความไม่สมดุลของการหมุน การชำรุดของเฟือง ชิ้นส่วนเครื่องจักรหลุดหลวม เครื่องจักรเสื่อมสภาพจากการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ฯลฯ โดยระดับความรุนแรงของการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรนั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับปกติ ที่การสั่นสะเทือนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามด้วย ระดับการสั่นสะเทือนผิดปกติ คือมีการสั่นที่สูงกว่าปกติ ต้องติดตามอาการและวางแผนซ่อมบำรุงอย่างใกล้ชิด และสุดท้ายคือ ระดับอันตราย เป็นระดับที่ควรหยุดการผลิตก่อนเครื่องจักรจะเกิด Breakdown เพื่อเร่งแก้ไขโดยด่วน

หลักการทํางานเครื่องวัดความสั่นสะเทือนเป็นอย่างไร?

ในหลักการทํางานเครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้น อันดับแรกต้องพิจารณาจาก “จุดการสั่นสะเทือน” ประกอบกับ “ลักษณะโครงสร้างของเครื่องจักร” โดยตำแหน่งที่วัดนั้นต้องเข้าถึงได้และมีความปลอดภัยด้วย สำหรับในจุดการวัดที่เหมาะสมคือจุดเกิดการสั่นสะเทือนมากที่สุดหรือเป็นจุดที่ใกล้ที่สุด อาทิ แบริ่ง ตลับลูกปืน หรือจุดที่รับภาระ (Load) มากที่สุด เป็นต้น

นอกจากนี้ ควรมีการวัดความสั่นสะเทือนตามแนวแกนต่างๆ ด้วย ทั้งแนวดิ่ง (Vertical), แนวนอน (Horizontal) และ แนวแกนเพลา (Axial) โดยแต่ละแกนจะบ่งบอกถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรได้อย่างละเอียดมากขึ้นนั่นเอง

ประโยชน์ของเครื่องวัดความสั่นสะเทือนต่อธุรกิจและโรงงาน

แน่นอนว่าธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตมีการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาด ทำให้การผลิตสินค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และการใช้งานต่อเนื่องโดยขาดการดูแลนี้เองที่อาจทำให้เครื่องจักรเสียหาย (Breakdown) ทำให้การผลิตหยุดชะงัก ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามออเดอร์ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อพนักงานโรงงานอีกด้วย ซึ่งการตรวจสภาพเครื่องจักรโดยใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้นสามารถใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ติดตั้งง่ายและใช้ต้นทุนต่ำ

การวัดค่าการสั่นสะเทือนผ่านเครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้นสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว เพียงติดตั้ง Vibration Transmitter และ Transducer กับเครื่องจักร และดำเนินการวัดค่าผ่านตัวเครื่องเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องมืออะไรเพิ่มเติม หรือหยุดการเดินเครื่องจักรเพื่อตรวจสอบ

  • มีข้อมูลตัวเลข ช่วยวิเคราะห์ได้แม่นยำ

เมื่อใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนกับเครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องรุ่นใหม่ที่มีการบันทึกค่าความสั่นสะเทือน, FFT Spectrum และ Time waveform เพื่อนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดในซอฟแวร์บนคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ความสั่นสะเทือนได้อย่างแม่นยำ จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ลดการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนหรือการซ่อมบำรุงอย่างไม่รู้จบ

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

หากโรงงานได้ใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนเพื่อตรวจสอบและซ่อมบำรุงต่อเนื่อง ก็จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าอะไหล่ ค่าแรงทีมงานช่างซ่อม และรายได้ที่อาจเสียไปในช่วง Shutdown เพื่อซ่อมบำรุง หมดกังวลเรื่องการเสียเงินก้อนใหญ่หรือเสียโอกาสในการทำกำไรไปได้เลย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “เครื่องวัดความสั่นสะเทือน” ที่เป็นกุญแจสำคัญอันดับต้นๆ ของธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องจักร ซึ่งอาจนำมาสู่ความเสียหายและการขาดทุนได้

ฉะนั้นเจ้าของธุรกิจโรงงานจึงควรเลือกใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานจากตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเท่านั้น

สินค้า SPM เครื่องวัดความสั่นสะเทือนจาก P&A Technology

หากคุณมีความสนใจหรือต้องการเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Vibration Analyzer) คุณภาพสูง ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ที่ PAT (P&A Technology) เราพร้อมจำหน่ายเครื่องวัดความสั่นสะเทือนจากแบรนด์ SPM (SPM Instrument) ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวในโลกที่มีการวิเคราะห์ “Shock Pluse” สามารถตรวจจับสัญญาณความผิดปกติของ Bearing และ Gearbox ในเครื่องจักรรอบต่ำได้ดีกว่าการอาศัยสัญญาณการสั่นสะเทือนทั่วไป

พวกเรา P&A Technology มุ่งมั่นเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมที่มีคุณภาพ ที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วทุกมุมโลก ประกอบกับประสบการณ์มากกว่า 25 ปี เพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆ ของลูกค้าด้านวิศวกรรมอย่างครบวงจร

ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง

โทร.: 02-454-2478

Email: info@pat.co.th

LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d

ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร

Facebook: P&A Technology Company Limited

Instagram: pandatech_officia

10 ข้อต้องคำนึงในการเลือกซื้อกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Camera)
10 ข้อต้องคำนึงในการเลือกซื้อกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Camera)

อุณหภูมิเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเสมอ และถูกนำมาวัดค่าเพื่อใช้งานในหลากหลายด้าน อาทิ วัดสภาพอากาศในแต่ละวันว่าร้อนหรือหนาว วัดอุณหภูมิของร่างกายว่ามีไข้ขึ้นหรือไม่ การปรุงอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีการใช้อุปกรณ์ เช่น ปรอทวัดไข้ หรือเครื่องวัดอุณหภูมิดิจิทัลที่แสดงค่าเป็นตัวเลข แต่หากเป็นในภาคอุตสาหกรรม หรืองานบางประเภทที่ต้องอาศัยความแม่นยำในการตรวจวัดอุณหภูมิ แน่นอนว่า ต้องมีการใช้งานอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำและมีฟังก์ชันมากกว่าอย่าง “กล้องถ่ายภาพความร้อน” หรือ “Thermal Camera” นั่นเอง

 

วันนี้ PAT จะแนะนำให้รู้จักกับกล้องถ่ายภาพความร้อน พร้อมแนะนำสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกซื้อกล้องถ่ายภาพความร้อน ให้คุ้มค่าและตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด

 

กล้องถ่ายภาพความร้อน คืออะไร?

กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Camera หรือ Thermoscan) คือ กล้องที่มีความสามารถในการวัดค่าอุณหภูมิบนพื้นผิวของวัตถุต่างๆ โดยอาศัยการตรวจจับ “รังสีอินฟราเรด (Infrared Radiation หรือ IR)” ที่แผ่ออกมา ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และแสดงภาพถ่ายออกมาเป็นแถบสี (Palette) ที่บ่งบอกค่าอุณหภูมิต่างๆ นั่นเอง

 

การตรวจวัดอุณหภูมิของวัตถุผ่านกล้องถ่ายภาพความร้อน เป็นวิธีการวัดแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ อีกทั้งยังสามารถตรวจวัดความร้อนในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือในพื้นที่ที่มีอันตรายในการเข้าเพื่อตรวจวัด จึงได้กลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ถูกใช้งานในหลายภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

 

กล้องถ่ายภาพความร้อน ใช้งานในด้านไหนบ้าง?

ด้วยความสามารถของกล้องถ่ายภาพความร้อน จึงทำให้อุปกรณ์นี้ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลากหลาย เหมาะสำหรับทุกการใช้งานที่ต้องการวัดค่าอุณหภูมิโดยไม่ต้องสัมผัสวัตถุ เช่น

 

  • การตรวจสอบระบบไฟฟ้า ตู้ไฟ เสาไฟฟ้า มอเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ใช้ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนการซ่อมบำรุงรักษา มอเตอร์ แบริ่ง เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ใช้ในงานอนุรักษ์พลังงาน เช่น การตรวจสอบคุณภาพฉนวนความร้อน ความเย็น สตีมแทรป
  • ใช้ในงานวิจัยและพัฒนาการกระจายความร้อน เช่น แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสังเกตพฤติกรรมการทำความร้อนความเย็น

 

เห็นได้ว่ากล้องถ่ายภาพความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์หลายด้าน ช่วยลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน วัดอุณหภูมิได้แม่นยำ อีกทั้งยังบันทึกเป็นภาพถ่ายได้ เพื่อเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลในการดำเนินงานด้านต่างๆ ได้ด้วย

 

การเลือกกล้องถ่ายภาพความร้อนให้ตอบโจทย์การใช้งาน

ปัจจุบัน มีกล้องถ่ายภาพความร้อนหลายยี่ห้อ หลายรุ่น ตั้งแต่ราคาย่อมเยาไปจนถึงราคาสูง การเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมจึงต้องมีข้อควรคำนึง พร้อมรู้ถึงเทคนิคการเลือกใช้งานกล้องถ่ายภาพความร้อน ดังนี้

 

1. ช่วงการวัดอุณหภูมิของกล้องถ่ายภาพความร้อน

วัตถุแต่ละชนิดมีค่า Emissivity หรือความสามารถในการสะท้อนรังสีอินฟาเรดแตกต่างกันไป โดยทั่วไป เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดทั่วไปจะถูกตั้งค่า Emissivity ไว้ที่ 0.95 (ค่ามาตรฐาน) ซึ่งผู้ใช้งานควรทราบและพิจารณาว่าวัตถุต้องการวัดอุณหภูมิมีค่า Emissivity อยู่ที่เท่าไหร่ แล้วกล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถวัดค่านั้นๆ ได้หรือไม่ นอกจากนี้ อาจมีกล้องถ่ายภาพความร้อนบางรุ่นที่สามารถเปลี่ยนค่าการวัด Emissivity ได้ ซึ่งจะให้ความแม่นยำในการวัดได้มากขึ้น

 

2. ความละเอียดของภาพ หรือ จำนวน Pixel

ยิ่งกล้องถ่ายภาพความร้อนมีความละเอียดสูงมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ได้ภาพความร้อนที่มีคุณภาพ และวัดค่าอุณหภูมิได้แม่นยำขึ้นไปด้วย แต่ก็อาจมีราคาที่สูงเช่นกัน หากต้องการประหยัดงบประมาณ สามารถเลือกกล้องที่มีความละเอียดต่ำได้ แต่ไม่ควรต่ำเกินไปจนทำให้เกิดข้อผิดพลาด (Error) จากการวัด

 

3. พิจารณาระยะการวัดเทียบกับขนาดวัตถุ

กล้องถ่ายภาพความร้อนแต่ละรุ่นจะมีค่า Geometric Resolution (IFOV) ที่ไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกว่า ตัวกล้องสามารถระบุวัตถุได้แม่นยำในระยะไกลเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น หากมีการระบุค่า IFOV ไว้ที่ 1.7  mRad (milliRadians) นั่นหมายความว่า กล้องตัวดังกล่าวสามารถระบุวัตถุขนาดเล็กที่สุด 1.7 มิลลิเมตร ได้ที่ระยะ 1 เมตร 

 

4. การปรับโฟกัส (Focus)

ความสามารถในการปรับโฟกัสของเลนส์ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องพิจารณา  หากกล้องสามารถปรับโฟกัสแบบ Manual หรือ Auto ได้ ก็จะช่วยให้สามารถจับภาพความร้อนที่ชัดเจนได้ แต่ถ้าเป็นกล้องแบบ Fix Focus ก็ควรถ่ายในระยะที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ภาพออกมาคมชัดที่สุด เพราะหากภาพถ่ายที่ได้ไม่มีความคมชัด เบลอ จะส่งผลให้การวัดค่าและการวิเคราะห์ภาพความร้อนไม่มีประสิทธิภาพ

 

5. ค่า Thermal Sensitivity (NETD)

ค่า Thermal Sensitivity หรือ NETD (Noise Equivalent Temperature Difference) บ่งบอกความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือความแตกต่างของอุณหภูมิที่น้อยที่สุดที่สามารถมองเห็นได้โดยกล้องถ่ายภาพความร้อน เช่น หากกล้องมีค่า NETD อยู่ที่ < 50 mK หมายความว่าเมื่อมีอุณหภูมิน้อยกว่าเพียง 0.05°C ก็จะแสดงผลเป็นเฉดสีที่แตกต่างกันได้ ซึ่งยิ่งค่า NETD น้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความแม่นยำในการระบุความแตกต่างของอุณหภูมิมากเท่านั้น

 

6. แถบสีความร้อน (Palette) ที่สามารถบันทึกได้

กล้องวัดความร้อนจะแสดงผลอุณหภูมิเป็นแถบสี ซึ่งบางรุ่นอาจมีเพียงแถบสีเดียว บางรุ่นอาจสามารถแสดงได้หลายแถบสี เช่น แถบสี Iron ที่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปหรือการตรวจสอบโครงสร้าง แถบสี Rainbow ที่เหมาะสำหรับตรวจวัดวัตถุที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิไม่มาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแถบสีแบบ Artic, White Hot และ Black Hot ที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต่างกันไปอีกด้วย

 

7. โปรแกรมวิเคราะห์ภาพความร้อน

การเลือกกล้องถ่ายภาพความร้อนที่มาพร้อมกับโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ (Software) ที่ใช้งานง่าย ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญเนื่องจาก ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องวิเคราะห์ภาพความร้อนด้วยโปรแกรมก่อนที่จะรายงานผลการตรวจวัด หากโปรแกรมมีความซับซ้อน ใช้งานยาก ก็จะเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ใช้งาน ทำให้การดำเนินงานล่าช้าได้นั่นเอง

 

8. อายุการใช้งานแบตเตอรี่ในแต่ละครั้ง

ในประเภทงานอย่างการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ที่มักมีจุดในการตรวจวัดหลายๆ จุด จำเป็นต้องพิจารณาอายุการใช้งานแบตเตอรี่ในการชาร์จแต่ละครั้งด้วยว่าแบตเตอรี่ที่ใส่เข้าไปนั้นสามารถใช้งานได้นานเท่าไหร่ เพื่อให้การดำเนินงานต่อเนื่องและไม่เกิดปัญหาอย่างการบันทึกข้อมูลไม่สมบูรณ์ตามมาในภายหลัง

 

9. ราคาและความคุ้มค่าของกล้องถ่ายภาพความร้อน

ผู้ซื้อควรพิจารณาเปรียบเทียบราคาและกล้องถ่ายภาพความร้อนต่างๆ ที่ได้ว่ามีรายการอะไรบ้าง มีฟังก์ชันอะไรบ้าง เหมาะสมกับการใช้งานหรือเปล่า และเป็นราคาที่คุ้มค่ากับคุณสมบัติที่กล้องนั้นๆ มีหรือไม่ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

 

10. ความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือของผู้จัดจำหน่าย

กล้องถ่ายภาพความร้อนเป็นอุปกรณ์เฉพาะทาง ดังนั้นก่อนจะเลือกซื้อ ก็ควรแน่ใจก่อนว่าตัวแทนจำหน่ายที่ติดต่อนั้นมีความเชี่ยวชาญจริง สามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมและตรงต่อจุดประสงค์ในการใช้งานอุปกรณ์ได้

 

ทั้งหมดนี้ก็ล้วนเป็นข้อควรคำนึงสำคัญที่ควรนำไปพิจารณาให้ดีก่อนจะตัดสินใจ เพื่อให้ได้พบกับความคุ้มค่ามากที่สุด และหากคุณกำลังต้องการซื้อกล้องถ่ายภาพความร้อน ที่ราคาเหมาะสม มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล และตอบโจทย์งานวิศวกรซ่อมบำรุงและช่างเทคนิคได้อย่างดีเยี่ยม สามารถเข้ามาสอบถามพูดคุยและรับคำปรึกษากับ P&A Technology ได้ตามรายละเอียดด้านล่าง

 

ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง

โทร.: 02-454-2478

Email: info@pat.co.th

LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d

 

ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร

Facebook: P&A Technology Company Limited

Instagram: pandatech_official

 

พบกับเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมคุณภาพสูง กับ P&A Technology
พบกับเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมคุณภาพสูง กับ P&A Technology

การดำเนินงานในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การก่อสร้าง การซ่อมบำรุง หรือด้านอื่นๆ นอกจากทักษะความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงานแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ก็คือ “เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม” ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นของคู่กันเลยทีเดียว เพราะเครื่องมือวัดต่างๆ นั้นสามารถช่วยให้การดำเนินงานหรือการผลิตชิ้นงานมีความละเอียด สามารถระบุค่าได้ เพื่อสร้างมาตรฐานและคุณภาพที่สม่ำเสมอ ซึ่งเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมนั้นมีหลากหลายประเภท ถูกออกแบบมาเพื่อวัดหรือตรวจสอบค่าหรือปริมาณทางฟิสิกส์ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความดัน ระดับของเหลว ค่าทางเคมี ระดับการสั่นสะเทือน และอื่นๆ อีกมากมาย

 

แน่นอนว่าการวัดค่าต่างๆ เหล่านี้ย่อมต้องอาศัยเครื่องมือที่มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถระบุค่าต่างๆ ได้แม่นยำ และตอบโจทย์การใช้งานที่มีความเฉพาะเจาะจงได้ เชื่อว่าใครๆ ก็ต้องการที่จะซื้อเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมได้แบบครบ จบในที่เดียว อย่าง PAT หรือ P&A Technology ที่พร้อมจัดจำหน่ายเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมคุณภาพสูง และให้บริการอย่างครบครัน

 

ทำไมต้องใช้เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ?

การเลือกใช้เครื่องมือวัด ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนก็ตาม ต้องคำนึงถึงเรื่องคุณภาพเป็นหลัก แม้เครื่องมือวัดต่างๆ จะสามารถหาได้ทั่วไป แต่ก็ไม่มีการรับประกันว่าจะให้ผลการวัดหรือการวิเคราะห์ที่แม่นยำ บางครั้งอาจจะเกิดความคลาดเคลื่อน ผลวัดที่ไม่แน่นอน หรือแสดงตัวเลขผิดพลาด ซึ่งล้วนส่งผลต่อการดำเนินงานในขั้นตอนไปอย่างมาก ดังนั้นผู้ที่มีธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมจึงควรเลือกใช้เครื่องมือวัดที่แม่นยำจากผู้จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้ เพื่อควบคุมคุณภาพของชิ้นงาน ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย และสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน

 

ความเชี่ยวชาญของ P&A Technology

PAT คือ หนึ่งในบริษัทวิศวกรชั้นนำของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์และเชิงรุกในภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดย P&A Technology (พี แอนด์ เอ เทคโนโลยี) มีจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2538 ในฐานะตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง จากความเชี่ยวชาญทางด้านการบำรุงรักษาเครื่องมืออุตสาหกรรม พร้อมช่วยลูกค้าหาทางออกที่ดีที่สุด จนได้ต่อยอดเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือเกี่ยวกับการบำรุงรักษา เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมจากแบรนด์สากลที่ได้รับการยอมรับในหลากหลายประเทศทั่วโลกมานานกว่า 25 ปี

 

อีกทั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าของเราจะได้รับการบริการที่มีคุณภาพสูงและต่อเนื่อง เราจึงได้จัดตั้งบริษัท ซีบีเอ็มเอส จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการที่หลากหลาย อาทิ บริการนอกสถานที่ บริการให้เช่า และบริการหลังการขาย พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของเครื่องมือต่างๆ ที่มีต่อธุรกิจของลูกค้า

 

แนะนำเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมจาก P & A Technology

PAT จัดจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยในบทความนี้จะยกตัวอย่างมาให้ได้รู้จักกันทั้งหมด 4 ชนิด คือ เครื่องวัดความสั่นสะเทือน เครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์ กล้องถ่ายภาพความร้อน และเครื่องวิเคราะห์น้ำมัน

 

1. เครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Vibration Analyzer)

เครื่องจักรหรือมอเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมทุกชนิด จะมีค่าความสั่นที่บ่งบอกถึงสภาพเครื่องจักร หากค่าความสั่นสะเทือนดังกล่าวสูงเกินไปหรือน้อยเกินไป นั่นหมายความว่ากำลังเกิดความผิดปกติกับเครื่องจักรนั้นๆ ดังนั้นเครื่องวัดความสั่นสะเทือนจึงเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อตรวจสอบปัญหาอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถวางแผนการซ่อมบำรุงได้ล่วงหน้า มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

 

โดย PAT เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายเครื่องวัดความสั่นสะเทือนจากแบรนด์ SPM (SPM Instrument) อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวในโลกที่มีการวิเคราะห์ “Shock Pulse” สามารถตรวจจับสัญญาณความผิดปกติของ Bearing และ Gearbox ในเครื่องจักรรอบต่ำได้ดีกว่าการอาศัยสัญญาณการสั่นสะเทือนทั่วไป

 

2. เครื่องตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์ (Laser Shaft Alignment)

การเยื้องศูนย์ของเพลาที่เกิดจากการปรับตั้ง Aligment ไม่ถูกต้อง หรือเกินค่าพิกัดตามมาตรฐาน สามารถส่งผลให้เครื่องจักรหยุดทำงานอย่างกะทันหัน และส่งผลให้ชิ้นส่วนและอะไหล่ต่างๆ รวมไปถึงตัวเครื่องจักรเกิดความเสียหาย แบริ่งเสียเร็วกว่ากำหนด ซีลชำรุด หรือทำให้เกิดน้ำมันรั่ว เป็นต้น การตั้งศูนย์เพลาที่แม่นยำจึงสำคัญในการบำรุงรักษา และช่วยให้เครื่องจักรเพลาหมุนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจโรงงานเดินเครื่องจักรได้เต็มประสิทธิภาพ PAT จึงได้จำหน่ายเครื่องมือตั้งศูนย์เพลาคุณภาพสูงจากแบรนด์ Easy-Laser เช่น XT440 ที่เหมาะสำหรับทุกขั้นตอนการตั้งศูนย์เพลา หรือจะเป็น XT660 สำหรับตั้งศูนย์เพลาเครื่องจักรขนาดใหญ่ด้วยความแม่นยำสูง และมาพร้อมกับฟังก์ชันการใช้งานหลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งานตั้งศูนย์เพลาแบบรอบด้าน

 

3. กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Camera)

กล้องถ่ายภาพความร้อนมีความสามารถในการตรวจจับอุณหภูมิบนพื้นผิวของวัตถุต่างๆ โดยอาศัยการตรวจจับ “รังสีอินฟราเรด (Infrared Radiation หรือ IR)” ที่แผ่ออกมา จึงช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักร ระบบไฟฟ้า ตู้ไฟ เสาไฟฟ้า มอเตอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ รวมไปถึงตรวจสอบคุณภาพของฉนวนความร้อนหรือความเย็นได้อีกด้วย

 

PAT จัดจำหน่ายกล้องถ่ายภาพความร้อนจากแบรนด์ SATIR หนึ่งในผู้นำด้านการพัฒนาและผลิตกล้องถ่ายภาพความร้อนทั้งสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมและการใช้งานเชิงพาณิชย์ ซึ่งเรามีจำหน่ายทั้งรุ่น SATIR D300, SATIR D600, SATIR Hotfind-S สำหรับการตรวจวัดอุณหภูมิในงานต่างๆ สามารถจับภาพคุณภาพสูงและมีซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่าย พร้อมฟังก์ชันอื่นๆ อีกมากมาย

 

4. เครื่องวิเคราะห์น้ำมัน (Oil Quality Sensor)

หนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลให้เครื่องจักรทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คือ การเสื่อมสภาพทางเคมีหรือสารหล่อลื่นภายในของเครื่องจักรเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดการกัดกร่อน ส่งผลให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์น้ำมันของเครื่องจักรด้วย Oil Quality Sensor จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้ดียิ่งขึ้น

 

ที่ P&A เรามี Oil Quality Sensor จาก Poseidon System แบรนด์ชั้นนำในโซลูชันการตรวจสอบสภาพเครื่องจักร (Condition Monitoring Solutions) ที่ผลิตเครื่องวิเคราะห์น้ำมันในราคาที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม อย่าง TRIDENT QM3100, TRIDENT QW3100 และ TRIDENT WM800 ผ่านการออกแบบจากทางวิศวกรรมขั้นสูงและใช้สเตนเลสสตีลคุณภาพดี สามารถทำให้การตรวจสอบคุณภาพของมันน้ำหล่อลื่น แสดงผลได้แบบเรียลไทม์ และมีความแม่นยำสูง สามารถบอกความผิดปกติของเครื่องจักรตั้งแต่ระดับเริ่มต้น จึงทำให้โรงงานมีเวลาวางแผนการซ่อมบำรุงได้นานและครอบคลุมยิ่งขึ้น

 

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมที่ได้แนะนำไปทั้งหมดนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ PAT จัดจำหน่าย ซึ่งยังมีเครื่องมือและอุปกรณ์อีกมากมาย ที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างรอบด้าน หากคุณต้องการเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลในราคาเหมาะสม และตอบโจทย์งานวิศวกรซ่อมบำรุงและช่างเทคนิค สามารถเข้ามาสอบถาม พูดคุย และขอรับคำปรึกษากับ P&A Technology ได้ตามรายละเอียดด้านล่าง

 

ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง

โทร.: 02-454-2478

Email: info@pat.co.th

LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d

 

ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร

Facebook: P&A Technology Company Limited

Instagram: pandatech_official

 

Join our Newsletter

Subscribe our newsletter to receive the latest news and exclusive offers

  • Line
  • Instagram
  • Facebook