news_promotions_readmore1must-know-check-leakage-compressed-air-system-acoustic-cameranewid = 623
;เรื่องของรอยรั่วของระบบอัดอากาศถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม เรียกได้ว่าเป็นปัญหาคลาสสิกที่ผู้ประกอบการโรงงานส่วนใหญ่จะต้องพบเจอกันเป็นประจำอย่าง ปัญหาการเกิดรอยรั่วในระบบอัดอากาศ (Air/Gas Leak) ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงสภาพของเครื่องจักรที่ถึงเวลาซ่อมบำรุง หรือในบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีโอกาสที่ทำให้โรงงานเกิดข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาของการรบกวนผู้คนในชุมชนโดยรอบ ขอบอกเลยว่าถ้าถึงขนาดต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเมื่อไหร่ ปัญหาอีกมากมายจะต้องตามมาอย่างแน่นอน
ดังนั้น เรื่องของการหมั่นตรวจสอบรอยรั่วระบบอัดอากาศของเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอจึงควรเป็น First Priority ของโรงงาน โดยส่วนใหญ่แล้วการตรวจสอบรอยรั่วระบบอัดอากาศของเครื่องจักรในโรงงานมักนิยมใช้งาน กล้องตรวจวัดเสียง หรือ Acoustic camera ไว้คอยระบุตำแหน่งที่มีอากาศหรือก๊าซรั่วไหล เพื่อเตรียมพร้อมในการประเมินผลกระทบในการบำรุงรักษาเครื่องจักรอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งานกล้อง Acoustic camera เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้ P&A จะพามารู้จักปัญหาการรั่วไหลของระบบอัดอากาศให้มากขึ้น ที่ขอเตือนเอาไว้เลยว่าถ้าไม่ระวังให้ดีอาจนำไปสู่ความสูญเสียของโรงงานที่ประเมินไม่ได้เลยทีเดียว ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
หนึ่งในสิ่งที่น่ารำคาญใจของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ คงหนีไม่พ้นปัญหาการรั่วไหลของระบบอัดอากาศตามเครื่องอัดอากาศ ท่อ วาล์ว ที่มองเผินๆ อาจจะดูไม่ใช่เรื่องร้ายแรงแต่ก็คล้ายกับอาการเวลาโดนมดกัดที่ถ้าหากโดนหลายจุดพร้อมๆ กัน ก็ต้องมีสะดุ้งกันบ้างไม่มากก็น้อย จากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ได้ระบุว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการรั่วไหลในระบบอัดอากาศของโรงงานจะอยู่ที่ประมาณ 25% แต่อาจมีโรงงานบางแห่งที่ประสบปัญหานี้สูงถึง 80% เลยทีเดียว และหากขาดการเตรียมพร้อมรับมือและแก้ไขให้ทันท่วงที การรั่วไหลเหล่านี้ก็อาจนำไปสู่เหตุการณ์ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายและค่าใช้จ่ายบานปลายจนทำให้โรงงานต้องขาดทุน ส่งผลให้ต้องหยุดกระบวนการผลิตแบบกะทันหัน ไปจนถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม และชุมชนโดยรอบ
การรั่วไหลดังกล่าว โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การรั่วตรงและการรั่วซึม ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมสามารถพบกับการรั่วไหลได้ทั้งสองรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่มักจะเจอกับปัญหาการรั่วซึมมากกว่า เนื่องจากการรั่วซึมนั้นสังเกตได้ยาก มีเสียงเบา ทำให้มักถูกละเลยเพราะคิดว่าสูญเสียพลังงานไปไม่มาก ส่วนการรั่วตรงมักจะพบที่จุดควบคุมนิวเมติกส์ (Pneumatic) เช่น การรั่วไหลของวาล์วควบคุม หรือชุดปรับลดแรงดัน
การรั่วในระบบลมหรือปั๊มลม (Air Compressor) มักมีสาเหตุมาจาก
สำหรับใครที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเชิงเทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรม คงพอจะทราบกันดีว่าเรื่องของอากาศอัด (Compressed Air) เป็นหนึ่งในระบบที่ต้องใช้พลังงานมากที่สุดอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรม และหากเกิดเหตุการณ์อย่างการรั่วของอากาศอัดขึ้นในระบบเมื่อไหร่ นั่นหมายความว่าโรงงานย่อมสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ ในชนิดที่ว่าทำเอาเจ้าของโรงงานต้องกุมขมับอย่างแน่นอน โดยมีงานวิจัยจากประเทศเยอรมันพบว่า การเกิดลมรั่วขึ้นกับรูรั่วที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 มม. ภายในระยะเวลา 1 ปี จะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตลมโดยไม่เกิดประโยชน์ไปถึง 270 ยูโร หรือจากข้อมูลของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกาที่ระบุว่า รอยรั่วของอากาศอัดขนาด ⅛ นิ้ว หรือประมาณ 3 มม. เพียงแค่จุดเดียวสามารถสร้างความเสียหายสูงถึง 2,500 ดอลลาร์ต่อปี ลองคิดดูว่าในกรณีที่โรงงานมีลมรั่ว 10 จุด และแต่ละจุดเป็นรูรั่วขนาด 3 มม. ภายในระยะเวลา 1 ปี จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับค่าไฟฟ้าที่สูงมากเกินความจำเป็นไปเป็นจำนวนเงินที่มากขนาดไหน
สำหรับวิธีแก้ปัญหาลมรั่วในระบบอัดอากาศนี้ สามารถทำได้โดยอาศัยเครื่องมืออย่างกล้อง Acoustic camera เพื่อทำการตรวจวัด เพราะโดยหลักการของการเกิดลมรั่วนั้นเกิดจากอากาศที่ไหลผ่านรูรั่วและจะเกิดคลื่นความถี่เสียงอัลตราโซนิก (Ultrasonic Sound) ด้วยคลื่นความถี่หูของคนเราไม่สามารถได้ยินหรือรับฟังคลื่นความถี่นี้ได้ และโดยพื้นฐานแล้วการตรวจสอบการรั่วไหลในระบบอัดอากาศจะต้องพิจารณาทั้ง 4 ส่วนของระบบ ได้แก่
ก็จบไปแล้วสำหรับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาการรั่วไหลของระบบอัดอากาศ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมหรือใครที่อยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้อง ที่ก่อนหน้านี้คิดว่าปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กๆ แต่อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าหากปล่อยเอาไว้ ผลที่ตามมาไม่เล็กอย่างที่คิดแน่นอน และยังส่งผลกระทบในระยะยาวอีกด้วย การหมั่นสังเกต ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงหรือการใช้กล้อง Acoustic camera เพื่อช่วยในการหาสาเหตุของการรั่วไหล ก็จะทำให้เกิดการวางแผนการซ่อมแซมได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บริษัท PAT (P&A Technology) คือ ตัวแทนจัดจำหน่ายกล้องตรวจวัดเสียงจากแบรนด์ SoundCam อย่างเป็นทางการ โดยเป็นกล้องถ่ายภาพเสียงตั้งแต่ความถี่ต่ำจนไปถึงอัลตราซาวด์เครื่องแรกของโลก สามารถประมวลผลจากเสียงในรูปแบบต่างๆ และยังสามารถแปลงข้อมูลจากเสียงที่ได้ยินให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปประมวลผลต่อได้ โดยมีการแสดงผลผ่านจอแสดงผลแบบเรียลไทม์ อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ครอบคลุมทุกความต้องการในการระบุตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียง
โดยที่ P&A เรามีกล้อง Acoustic Camera ราคาเป็นมิตร และผ่านมาตรฐานระดับโลก มาแนะนำ
กล้องวัดระดับเสียง SoundCam Ultra เป็นอุปกรณ์วัดระดับเสียงขนาดพกพา ใช้งานง่าย มาพร้อมจอแสดงผลในตัว สามารถวัดระดับเสียงคลื่นความถี่สูงสุดถึง 100 kHz (Ultra High Frequencies) สามารถใช้ในการระบุปัญหาการรั่วไหลในท่อแรงดันและการรั่วของท่อสุญญากาศ โดยใช้ซอฟต์แวร์ SoundCam ในการประมวลผล นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษอีกมากมาย อาทิ
ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง
โทร.: 02-454-2478
Email: info@pat.co.th
LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d
ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร
Facebook: P&A Technology Company Limited
Instagram: pandatech_official
Copyright В� 2020 P&A Technology Company Limited.All Rights Reserved.