news_promotions_readmore1know-vibration-meternewid = 643
;เครื่องจักรแทบทุกชนิดที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถสร้าง “แรงสั่นสะเทือน” โดยเป็นผลมาจากการเดินเครื่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำ แต่เชื่อว่าเจ้าของโรงงาน ธุรกิจ และผู้ปฏิบัติงานคงทราบกันดีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเครื่องจักรเกิดการสั่นสะเทือนมาก เป็นจังหวะผิดปกติ เสียงสั่นดัง หรือเกิดความร้อน นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเครื่องจักรมีการทำงานที่ผิดแปลกไป ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง จึงต้องมีการตรวจสอบสภาพ วิเคราะห์ และซ่อมบำรุง โดยอาศัยเครื่องมืออย่าง “เครื่องวัดความสั่นสะเทือน” ที่ถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักร
เครื่องวัดความสั่นสะเทือนคืออะไร? มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง? เป็นประโยชน์ต่อโรงงานและธุรกิจมากน้อยเพียงไหน? มาหาคำตอบไปพร้อมกับ PAT ในบทความนี้
เครื่องวัดความสั่นสะเทือนคืออะไร?
เครื่องวัดความสั่นสะเทือน หรือ Vibration Analyzer คือ เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์และตรวจสอบการสั่นของวัตถุ ซึ่งเป็นการตรวจสอบการตอบสนองของวัตถุหรือเครื่องจักรให้เป็นไปตามมาตรฐานการสั่นสะเทือน (ISO 2372:1974) เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรนั้นๆ สามารถดำเนินงานได้เต็มประสิทธิภาพ และไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น
โดยทั่วไป การวัดแรงสั่นสะเทือนนั้นจะวิเคราะห์จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
คือ การวัดการสั่นในแต่ละรอบว่ามีระยะเคลื่อนที่ไปมากแค่ไหนจากจุดอ้างอิงแรก โดยเป็นการวัดแบบ “เต็มคลื่น (Peak To Peak)” ซึ่งนิยมใช้หน่วยวัดเป็น “มิลลิเมตร (mm) หรือ นิ้ว (inch)” โดยการวัด Displacement มักจะใช้วัดเครื่องจักรที่มีรอบต่ำ หรือไม่เกิน 1,200 รอบต่อนาที หรือมีระดับความถี่การสั่นสะเทือนไม่เกินกว่า 20 Hz
คือ การวัดความเร็วในแต่ละรอบการสั่นสะเทือน โดยจะเป็นการวัดแบบ RMS และนิยมใช้หน่วยวัดเป็น “มิลลิเมตรต่อวินาที (mm/s)” ปัจจัยการวัดแรงสั่นสะเทือนนี้สามารถใช้ได้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบมากกว่า 1,200 รอบต่อนาที และมีระดับความถี่การสั่นสะเทือนอยู่ระหว่าง 20 Hz ถึง 1,000 Hz
คือ การวัดอัตราความเร็วเครื่องจักรจากศูนย์ถึงจุดสูงสุดในแต่ละรอบการสั่นสะเทือน โดยมีหน่วยวัดเป็น “มิลลิเมตรต่อวินาทียกกำลังสอง (mm/s2)” ซึ่งใช้ในการวัดการสั่นสะเทือนความถี่สูงตั้งแต่ 10 kHz ขึ้นไปนั่นเอง
สาเหตุของการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรมีหลากหลาย อาทิ ความไม่สมดุลของการหมุน การชำรุดของเฟือง ชิ้นส่วนเครื่องจักรหลุดหลวม เครื่องจักรเสื่อมสภาพจากการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ฯลฯ โดยระดับความรุนแรงของการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรนั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับปกติ ที่การสั่นสะเทือนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามด้วย ระดับการสั่นสะเทือนผิดปกติ คือมีการสั่นที่สูงกว่าปกติ ต้องติดตามอาการและวางแผนซ่อมบำรุงอย่างใกล้ชิด และสุดท้ายคือ ระดับอันตราย เป็นระดับที่ควรหยุดการผลิตก่อนเครื่องจักรจะเกิด Breakdown เพื่อเร่งแก้ไขโดยด่วน
หลักการทํางานเครื่องวัดความสั่นสะเทือนเป็นอย่างไร?
ในหลักการทํางานเครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้น อันดับแรกต้องพิจารณาจาก “จุดการสั่นสะเทือน” ประกอบกับ “ลักษณะโครงสร้างของเครื่องจักร” โดยตำแหน่งที่วัดนั้นต้องเข้าถึงได้และมีความปลอดภัยด้วย สำหรับในจุดการวัดที่เหมาะสมคือจุดเกิดการสั่นสะเทือนมากที่สุดหรือเป็นจุดที่ใกล้ที่สุด อาทิ แบริ่ง ตลับลูกปืน หรือจุดที่รับภาระ (Load) มากที่สุด เป็นต้น
นอกจากนี้ ควรมีการวัดความสั่นสะเทือนตามแนวแกนต่างๆ ด้วย ทั้งแนวดิ่ง (Vertical), แนวนอน (Horizontal) และ แนวแกนเพลา (Axial) โดยแต่ละแกนจะบ่งบอกถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรได้อย่างละเอียดมากขึ้นนั่นเอง
ประโยชน์ของเครื่องวัดความสั่นสะเทือนต่อธุรกิจและโรงงาน
แน่นอนว่าธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตมีการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาด ทำให้การผลิตสินค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และการใช้งานต่อเนื่องโดยขาดการดูแลนี้เองที่อาจทำให้เครื่องจักรเสียหาย (Breakdown) ทำให้การผลิตหยุดชะงัก ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามออเดอร์ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อพนักงานโรงงานอีกด้วย ซึ่งการตรวจสภาพเครื่องจักรโดยใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้นสามารถใช้ประโยชน์ ดังนี้
การวัดค่าการสั่นสะเทือนผ่านเครื่องวัดความสั่นสะเทือนนั้นสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว เพียงติดตั้ง Vibration Transmitter และ Transducer กับเครื่องจักร และดำเนินการวัดค่าผ่านตัวเครื่องเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องมืออะไรเพิ่มเติม หรือหยุดการเดินเครื่องจักรเพื่อตรวจสอบ
เมื่อใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนกับเครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องรุ่นใหม่ที่มีการบันทึกค่าความสั่นสะเทือน, FFT Spectrum และ Time waveform เพื่อนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดในซอฟแวร์บนคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ความสั่นสะเทือนได้อย่างแม่นยำ จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ลดการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนหรือการซ่อมบำรุงอย่างไม่รู้จบ
หากโรงงานได้ใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนเพื่อตรวจสอบและซ่อมบำรุงต่อเนื่อง ก็จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าอะไหล่ ค่าแรงทีมงานช่างซ่อม และรายได้ที่อาจเสียไปในช่วง Shutdown เพื่อซ่อมบำรุง หมดกังวลเรื่องการเสียเงินก้อนใหญ่หรือเสียโอกาสในการทำกำไรไปได้เลย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “เครื่องวัดความสั่นสะเทือน” ที่เป็นกุญแจสำคัญอันดับต้นๆ ของธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องจักร ซึ่งอาจนำมาสู่ความเสียหายและการขาดทุนได้
ฉะนั้นเจ้าของธุรกิจโรงงานจึงควรเลือกใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานจากตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเท่านั้น
สินค้า SPM เครื่องวัดความสั่นสะเทือนจาก P&A Technology
หากคุณมีความสนใจหรือต้องการเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Vibration Analyzer) คุณภาพสูง ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ที่ PAT (P&A Technology) เราพร้อมจำหน่ายเครื่องวัดความสั่นสะเทือนจากแบรนด์ SPM (SPM Instrument) ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวในโลกที่มีการวิเคราะห์ “Shock Pluse” สามารถตรวจจับสัญญาณความผิดปกติของ Bearing และ Gearbox ในเครื่องจักรรอบต่ำได้ดีกว่าการอาศัยสัญญาณการสั่นสะเทือนทั่วไป
พวกเรา P&A Technology มุ่งมั่นเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมที่มีคุณภาพ ที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วทุกมุมโลก ประกอบกับประสบการณ์มากกว่า 25 ปี เพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆ ของลูกค้าด้านวิศวกรรมอย่างครบวงจร
ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง
โทร.: 02-454-2478
Email: info@pat.co.th
LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d
ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร
Facebook: P&A Technology Company Limited
Instagram: pandatech_officia
Copyright В� 2020 P&A Technology Company Limited.All Rights Reserved.