news_promotions_readmore1pdm-maintenance-use-vibration-meternewid = 603
;ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม หนึ่งในปัญหาที่เป็นเรื่องกวนใจมากที่สุด คงหนีไม่พ้นเรื่องของ “งานซ่อมบำรุง” เพราะถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางความเป็นไปของกระบวนการผลิตของโรงงานเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในงานผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่แล้ว ต้องพึ่งพาเครื่องจักรจำนวนมาก ทำให้ฝ่ายผลิตในโรงงานส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมีการวางแผนการผลิต หรือควบคุมปริมาณการผลิตให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางตามกรอบเวลาเอาไว้ ทำให้หากวันใดวันหนึ่งมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น อย่างปัญหาเครื่องจักรผิดปกติ เกิดการชำรุด เสียหาย ฯลฯ ย่อมส่งผลกระทบอย่างมหาศาลโดยตรงต่อโรงงานไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ดังนั้นในบทความนี้จะขอพาทุกคนมารู้จักกับวิธีการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ หรือที่หลายคนมักจะเรียกกันติดปากว่า PdM ว่าคืออะไร? และมีความสำคัญต่อแนวทางการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างไร? และปัญหาที่หลายๆ โรงงานเจอเป็นประจำอย่างการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรที่ส่งผลต่อการชำรุดในระยะยาว มีวิธีตรวจสอบอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ หรือ PdM เป็นเทคนิคงานซ่อมเชิงวิศวกรรม ที่อาศัยการตรวจสอบวางแผนงานซ่อมบำรุงให้เหมาะสม เพื่อที่จะกำหนดแผนงานตามเวลาในการเข้าไปทำการบำรุงรักษาก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดอาการ Breakdown โดยในการตรวจสอบปัญหาของเครื่องจักรนั้น จะต้องมีการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยให้สามารถคาดเดาปัญหาของเครื่องจักร และระยะเวลาการเสื่อมสภาพได้ ทำให้ผลลัพธ์ของการบำรุงรักษาเป็นไปตามกรอบเวลา งบประมาณ ช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินให้กับโรงงานได้ในระยะยาว ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อย่างที่เกริ่นไปในข้างต้นแล้วว่าการบำรุงรักษาแบบ PdM สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ของเครื่องจักรได้หลากหลาย โดยพื้นฐานแล้วเทคนิคการซ่อมบำรุงแบบแบบ PdM มีดังนี้
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเครื่องจักรหรือมอเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมทุกชนิด จะมีค่าความสั่นที่บ่งบอกถึงสภาพของเครื่องจักรอยู่ หากสูงเกินไปหรือน้อยเกินไป นั่นหมายถึงอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอะไหล่หรือชิ้นส่วนบางอย่างเสียหาย โครงสร้างแตกร้าว จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบและบำรุงรักษาให้ทันท่วงที ดังนั้นเครื่องวัดความสั่นสะเทือนจึงเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อตรวจสอบปัญหาอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถวางแผนการซ่อมบำรุงได้ล่วงหน้า มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
สำหรับใครที่สงสัยว่าแล้วเครื่องวัดความสั่นสะเทือน ทำงานอย่างไร? โดยพื้นฐานแล้วหลักการทำงานของเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือนจะถูกนำมาใช้ในการวัดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรหมุน (Rotating Machine) เพื่อตรวจสอบว่าการ “แกว่ง” หรือ “หมุน” ของเครื่องจักรมีความสมดุลมากพอหรือไม่ โดยอาศัยเครื่องวัดความสั่นสะเทือนในการเก็บสัญญาณของเครื่องจักรเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสัญญาณความผิดปกติต่างๆ
ส่วนใหญ่แล้ว หากพบปัญหาของการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร มักเกิดจากความผิดปกติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
ปัญหาของเครื่องจักรเหล่านี้ หากปล่อยทิ้งไว้หรือขาดการซ่อมบำรุงอย่างถูกวิธี ก็จะส่งผลให้เครื่องจักรชำรุด เสียหาย หรือมากไปกว่านั้นคือเครื่องจักรอาจจะไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ดังเดิม ส่งผลให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเกินจำเป็น
เพื่อให้แน่ใจว่ามีการเตรียมการรับมือกับปัญหาเครื่องจักรอย่างรอบคอบ การมองหาเครื่องวัดความสั่นสะเทือน ราคาเป็นมิตร มีคุณภาพตามมาตรฐาน และตอบโจทย์งานวิศวกรซ่อมบำรุงและช่างเทคนิคได้อย่างดีเยี่ยม ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามปล่อยปละละเลยเป็นอันขาด หากใครสนใจสามารถเข้ามาสอบถามพูดคุยและรับคำปรึกษากับ P&A Technology ได้ที่
ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทาง
โทร.: 02-454-2478
Email: info@pat.co.th
LINE OA: https://lin.ee/4FaAArm0d
ติดตามข่าวสารและโปรโมชันใหม่ๆ จากเราก่อนใคร
Facebook: P&A Technology Company Limited
Instagram: pandatech_official
Copyright В� 2020 P&A Technology Company Limited.All Rights Reserved.